การจัดการความรู้

ภาพรวม

การจัดการความรู้ คือ

 การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดโดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆเป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงานงานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม          
 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
 1. การบ่งชี้ความรู้เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
 3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
 5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการโดยกรณีเป็นExplicitKnowledgeอาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศหรือกรณีเป็นTacitKnowledgeจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงานการยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
 7. การเรียนรู้ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง  

 

โมเดลปลาทู

“โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ

สคส. ที่เปรียบ

 การจัดการความรู้

เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วนคือ

1.  หัวปลา

2.  ตัวปลา

 3.  หางปลา

 

 

 

 

 

โครงการพัฒนาคุณภาพงาน

หัวข้อ

วันที่

โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2559
การวางและจัดระบบการให้บริการและติดตามผู้ป่วย Heart Failure (รางวัลดีเด่น)
18/03/2019
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2559
การส่งเอกสารแจ้งรหัสโครงการบริการวิชาการให้แก่ ภาควิชา/หน่วยงาน โดยระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (รางวัลดีเด่น) และ (รางวัลขวัญใจมหาชน)
18/03/2019
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2559
ทุนอุดหนุนการศึกษาเพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยสอน/ผู้ช่วยวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ (รางวัลดีเด่น)
18/03/2019
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2559
พัฒนาระบบเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายการประชาสัมพันธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต (รางวัลชมเชย)
18/03/2019
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2559
Animation รู้ทันโรคไตกับคิดดี (รางวัลชมเชย)
24/05/2019
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2560
โครงการการเสริมศักยภาพการบริการงานเทคโนโลยีการศึกษา (รางวัลดีเด่น)
24/05/2019
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2560
โครงการศาสตร์แห่งนพลักษณ์สู่การพัฒนาคุณธรรมความเอื้ออาทร (รางวัลดีเด่น) และ (รางวัลขวัญใจมหาชน)
24/05/2019
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2560
อย่าลืมฉัน (รางวัลชมเชย)
12/03/2021
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2560
Road to Chula PK (รางวัลเงินขวัญถุง)
12/03/2021